ภาควิชาพื้นฐานฯ ร่วมกับกลุ่มพลเรียน กลุ่มลานยิ้ม และศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มช.เสวนาการศึกษาครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "กึ่งศตวรรษ เปาโล แฟร์: แด่ผู้กดขี่ในระบบการศึกษาไทย”

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 27 กันยายน 2559
โดย : คณะศึกษาศาสตร์
ผู้เข้าชม : 793 คน
ภาควิชาพื้นฐานฯ ร่วมกับกลุ่มพลเรียน กลุ่มลานยิ้ม และศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มช.เสวนาการศึกษาครั้งที่ 2 ในหัวข้อ

เมื่อวันพุธที่ 14 กันยายน 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดเสวนาการศึกษาครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "กึ่งศตวรรษ เปาโล แฟร์: แด่ผู้กดขี่ในระบบการศึกษาไทย” จัดโดยภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มพลเรียน กลุ่มลานยิ้ม และศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพูดถึง เปาโล แฟร์  (Paulo Freire ) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก เขาได้แต่งหนังสือ “การศึกษาของผู้ถูกกดขี่” (Pedagogy of the Oppressed)  และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ถูกกดขี่ทั้งหลายในโลกเกิดการลุกขึ้นมาตั้งคำถาม และเปลี่ยนแปลงสังคม  นอกจากนี้งานเสวนาครั้งนี้ยังเป็นการชวนมองและตั้งคำถามต่อการกดขี่ในระบบการศึกษาไทยอีกด้วย โดยในช่วงแรกเป็นการปาฐกถาโดย คุณพ่อ ซีริล นิพจน์ เทียนวิหาร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรมชุมชน  และช่วงที่สองเป็นการเสวนากับ นายวิจักขณ์ พานิช ผู้แปลหนังสือ "การศึกษาของผู้ถูกกดขี่" นายพฤหัส พหลกุลบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) และ นายธีรพงษ์ ภักดีสาร นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  (กลุ่มพลเรียน)  โดยมี อาจารย์ ดร.นันท์นภัส แสงฮอง เป็นผู้ดำเนินรายการครั้งนี้ ณ ห้อง EB4210 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่