คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2511
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งครั้งแรก คือ
- เพื่อผลิตบัณฑิตทางศึกษาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านวิชาการและวิธีการสอนที่จะออกไปเป็นครูระดับชั้นมัธยมศึกษาขึ้นไป
- เพื่อสร้างโรงเรียนสาธิตมัธยม สำหรับเป็นสถานที่ฝึกหัดและทดลองการสอนตามแนวทางปรัชญาทางการศึกษาใหม่ๆ และวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนของนักเรียนในภาคเหนือ
- เพื่อทำการวิจัยในภาคเหนือ
ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับความเป็นมาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีดังต่อไปนี้
-
พ.ศ. ๒๕๐๘
มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำโครงการผลิตบัณฑิตทางศึกษาศาสตร์เสนอบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๔) แล้วเสร็จเมื่อวันที่๒๐ มิถุนายน ๒๕๐๙ แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณบดี ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย และสภาการศึกษาแห่งชาติตามลำดับ
-
พ.ศ. ๒๕๐๙
มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินงานตามโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อพิจารณาโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ก่อนนำเสนอสภาการศึกษาแห่งชาติ
-
พ.ศ. ๒๕๑๐
องค์การยูเนสโกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเตรียมงานจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการเสนอขออนุมัติหลักการในการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๑๐ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการในการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๑๐
-
พ.ศ. ๒๕๑๑
เสนอโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ ต่อสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำเสนอโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ต่อสภา การศึกษาแห่งชาติ ที่ประชุมสภาการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๑๑ วันศุกร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๑๑ ได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ โดยให้มีภาควิชา ๕ ภาควิชา ได้แก่
- ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา
- ภาควิชาระเบียบวิธีการสอนและหลักสูตร
- ภาควิชาโสตทัศนศึกษา
- ภาควิชาวัดผลและระเบียบวิธีวิจัยการศึกษา
- ภาควิชาส่งเสริมการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ ได้เริ่มดำเนินการรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรก และเปิดสอนเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๑ โดยมีสาขาวิชาที่เปิดสอน ๗ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา สาขาวิชาการสอนธุรกิจศิลป์ สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาการสอนเกษตรศาสตร์ นอกจากนั้นคณะได้เริ่มดำเนินการเปิดรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมัธยม เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๑ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการเสนอเรื่องการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ต่อสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๑๑ เป็นการประกาศสถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
-
พ.ศ. ๒๕๑๔
มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรปริญญาตรี โดยแบ่งออกเป็น ๒ หลักสูตร คือ
- หลักสูตร ๔ ปี สำหรับนักศึกษาที่มีวุฒิ มศ.๕ หรือเทียบเท่า
- หลักสูตร ๒ ปีครึ่ง สำหรับผู้มีวุฒิ ป.กศ.สูง หรือเทียบเท่า (ปิดหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๔๙)
-
พ.ศ. ๒๕๑๙
เปิดสอนระดับปริญญาตรีเพิ่มอีก ๗ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ สาขาวิชาคหกรรมศิลป์ สาขาวิชาพลศึกษา สาขาวิชาสุขศึกษา สาขาวิชาประถมศึกษา สาขาวิชาบริหารการศึกษา และสาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
-
พ.ศ. ๒๕๒๐
มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารทางวิชาการได้มีการขยายจำนวนภาควิชาจาก ๕ ภาควิชาเป็น๙ ภาควิชา ประกอบด้วย
- ภาควิชาเดิมที่ได้รับอนุมัติพร้อมการสถาปนาคณะศึกษาศาสตร์และคงชื่อเดิม ได้แก่ ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา และภาควิชาส่งเสริมการศึกษา
- ภาควิชาเดิมที่ได้รับอนุมัติพร้อมการสถาปนาคณะศึกษาศาสตร์และขอเปลี่ยนชื่อภาควิชาใหม่ ได้แก่
- ภาควิชาการวัดผลและระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาขอเปลี่ยนแปลงเป็นภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา
- ภาควิชาโสตทัศนศึกษาขอเปลี่ยนแปลงเป็นภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
- ภาควิชาระเบียบวิธีการสอนและหลักสูตรขอเปลี่ยนแปลงเป็นภาควิชามัธยมศึกษา
- ภาควิชาที่ขอจัดตั้งใหม่ได้แก่
- ภาควิชาประถมศึกษา
- ภาควิชาศิลปะปฏิบัติ (เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาอาชีวศึกษา ตั้งแต่เมษายน 2526)
- ภาควชิาพลานามัย
- ภาควิชาบริหารการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๒๕
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทเป็นครั้งแรกจำนวน ๓ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา และสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๒๖
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๒๗
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
-
พ.ศ. ๒๕๓๐
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาการศึกษานอกระบบ
-
พ.ศ. ๒๕๓๑
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาประถมศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๓๓
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๓๔
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท ๓ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษและสาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๓๕
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
-
พ.ศ. ๒๕๓๗
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๓๘
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาอาชีวศึกษา เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ภาคพิเศษ) ในโครงการความร่วมมือระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับสถาบันราชภัฏเชียงราย (ระยะเวลาดำเนินการ ๕ ปี) จำนวน ๔ รุ่น (ปีการศึกษา ๒๕๓๘-๒๕๔๑) เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาร่วม (ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์) ในโครงการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
พ.ศ. ๒๕๓๙
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
-
พ.ศ. ๒๕๔๐
เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู (โครงการส่งเสริม การผลิตครูที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ - สควค.) (ปิดหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๕๔) เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา สาขาวิชาร่วม (ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิจิตรศิลป์ เศรษฐศาสตร์) ในโครงการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
พ.ศ. ๒๕๔๑
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาอาชีวศึกษา (ภาคพิเศษ) ในโครงการของ บัณฑิตศึกษาสถาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในพ.ศ. ๒๕๔๙ บัณฑิตศึกษาสถาน ได้ให้คณะศึกษาศาสตร์ จัดการเรียนการสอนเอง
-
พ.ศ. ๒๕๔๖
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ภาคพิเศษ) เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาร่วม (ศึกษาศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย) ในโครงการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาวิชาร่วม (ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ แพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์) ในโครงการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
พ.ศ. ๒๕๔๗
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ (ภาคพิเศษ) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะฯ และกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องให้พัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๕ ปี เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๒ ที่ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” และของกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้องการส่งเสริมการดำเนินการยกระดับวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว ปรับปรุงจากหลักสูตรเดิม ๔ ปี เป็นหลักสูตร ๕ ปี ทั้ง ๑๔ สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
- สาขาวิชาเกษตรกรรม
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาประถมศึกษา
- สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๔๙
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่ม ๑ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๕๐
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา (ภาคปกติ) โดยแบ่งเป็น ๓ แขนงวิชา คือ แขนงวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา แขนงวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบบุคลากรทางการศึกษา และแขนงวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบการตรวจสอบ นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๕๑
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปลี่ยนระบบการบริหารงาน เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๑ และมีนโยบายให้คณะฯ ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ คณะฯ จึงได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงาน โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น ๓ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะ สำนักวิชาการศึกษา (รวมภาควิชา ๙ ภาควิชาเข้าด้วยกัน) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานในส่วนงานวิชาการและส่วนงานอื่นๆ ฉบับที่ ๑ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๑เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ภาคปกติ)
-
พ.ศ. ๒๕๕๒
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา (ภาคพิเศษ) ทั้ง ๓ แขนงวิชา คือ แขนงวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา แขนงวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบบุคลากรทางการศึกษา และแขนงวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบการตรวจสอบ นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๕๓
เปิดวิชาโทการศึกษาพหุวัฒนธรรม เพื่อรองรับประชาคม ASEAN
-
พ.ศ. ๒๕๕๕
ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาโท ๔ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิชาประถมศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เป็น ๑ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ ดำเนินการเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๕ในแขนงวิชาประถมศึกษา แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน และแขนงวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
-
พ.ศ. ๒๕๕๖
มีการเปิดสอนและปรับปรุงหลักสูตรดังนี้
- ระดับปริญญาตรี ปรับปรุงหลักสูตร ๙ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาประถมศึกษา การศึกษาปฐมวัยและการศึกษาพิเศษ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ชีววิทยา ฟิสิกส์ ธุรกิจศึกษา ศิลปศึกษา ดำเนินการเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๖
- ระดับปริญญาโท ปรับปรุงหลักสูตร ๔ สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษาและสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ปรับปรุงเป็น ๑ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการศึกษา ประกอบด้วย ๕ วิชาเอก คือวิชาเอกการบริหารการศึกษา วิชาเอกการศึกษาเพื่อการพัฒนา วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา ดำเนินการเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๖
- สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา และสาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา ปรับปรุงเป็น ๑ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา ประกอบด้วย ๒ แขนงวิชา คือ แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา แขนงวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา ดำเนินการเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๖ในแขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
- สาขาวิชาอาชีวศึกษา ดำเนินการเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๖
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา ปรับชื่อเป็น สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ดำเนินการเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๖
- ระดับปริญญาเอก
- ขอเปิดหลักสูตรใหม่ ๑ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๖) พหุวัฒนธรรมศึกษา วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา มีผลบังคับใช้ในภาคการศึกษา ที่ ๑/๒๕๕๗
- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน อยู่ระหว่างปรับปรุงหลักสูตร เป็น สาขาวิชาหลักสูตรการสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ ประกอบด้วย ๒ แขนงวิชา คือ แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน และแขนงวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๕๗
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรื่องการแบ่งหน่วยงานในส่วนงานวิชาการและส่วนงานอื่น (ฉบับที่๑๒) เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้คณะศึกษาศาสตร์ แบ่งหน่วยงานเป็น ๕ หน่วยงานดังนี้
- สำนักงานคณะ
- ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา
- ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้
- ภาควิชาอาชีวศึกษาและการส่งเสริมสุขภาวะ
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตร
- ระดับปริญญาตรี ปรับปรุงหลักสูตร ๒ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเคมี และคณิตศาสตร์
- ระดับปริญญาโท มีการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทของการศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา ร่วมกับโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๑) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๗
- ระดับปริญญาเอก ระดับปริญญาเอก เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษา ๕ วิชาเอกดังนี้
- การบริหารการศึกษา
- การศึกษาเพื่อการพัฒนา
- พหุวัฒนธรรมศึกษา
- วิทยาศาสตรศึกษา
- สังคมศึกษา