คณะศึกษาศาสตร์ มช. จัดกิจกรรมหนุนเสริมการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน (กลุ่มงานที่ 5) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านระบบออนไลน์

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 27 พฤษภาคม 2564
โดย : หน่วยประชาสัมพันธ์
ผู้เข้าชม : 978 คน
คณะศึกษาศาสตร์ มช. จัดกิจกรรมหนุนเสริมการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน (กลุ่มงานที่ 5) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านระบบออนไลน์

ในระหว่างวันที่ 25 - 26 พฤษภาคม 2564 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์ จัดกิจกรรมหนุนเสริมการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน (กลุ่มงานที่ 5) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ โดยจำนวนผู้จะได้รับการหนุนเสริม (กลุ่มงานที่ 5) มีจำนวนทั้งสิ้น 194 คน  จาก 50 ตำบล  แบ่งเป็น ประชาชน จำนวน 48  คน บัณฑิต จำนวน 98 คน และ นักศึกษา จำนวน 48 คน ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อหนุนเสริมการสำรวจรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในระดับชุมชน หนุนเสริมการวิเคราะห์ฐานเดิมชุมชน หนุนเสริมการเสนอแนวทางการพัฒนา/ต่อยอดอาชีพ บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมชุมชน หนุนเสริมการประสานงาน-บูรณาการหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่/ผู้รู้ เพื่อออกแบบและ สนับสนุนการต่อยอดอาชีพในระดับพื้นที่ หนุนเสริมการเขียนรายงานการสำรวจอาชีพของประชาชนในตำบล รายงานการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพที่เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มงานที่ 4 รายงานการประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะจำเป็นในการประกอบอาชีพที่เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มงานที่ 4 และ รายงานสรุปการพัฒนาทักษะอาชีพของโครงการ

ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ภายใต้ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ในกระบวนการทำงานมีการจัดจ้างงานนักศึกษา บัณฑิต และประชาชน ภายใต้ 6 ภารกิจหลัก ได้แก่ 1.การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analytics) 2.การเฝ้าระวังประสานงานข้อมูล Co-vid 3.การจัดทำข้อมูลราชการเป็นข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ 4.การจ้างงานเพื่อการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ 5.การพัฒนาทักษะอาชีพใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพ 6.การต่อยอดองค์ความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน