เปิดทำเนียบอาจารย์ EDU : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เขียนงาม อาจารย์จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มช. กับผลงานวิจัยระดับนานาชาติ Scopus

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 27 เมษายน 2565
โดย : หน่วยประชาสัมพันธ์
ผู้เข้าชม : 2087 คน
เปิดทำเนียบอาจารย์ EDU : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เขียนงาม อาจารย์จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มช. กับผลงานวิจัยระดับนานาชาติ Scopus

        สวัสดีค่ะ มีใครยังรอเปิดทำเนียบอาจารย์ EDU อยู่บ้างไหมเอ่ย วันนี้เรากลับมาอีกครั้งพร้อมกับอาจารย์อีกหนึ่งท่านในดวงใจ ที่นักศึกษาปีหนึ่งหลายคนอาจเคยได้เรียนกับอาจารย์ท่านนี้ในวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษามาบ้าง เชิญพบกับ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เขียนงาม” นั่นเองค่ะ

        สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยเจออาจารย์ คงอยากจะรู้จักอาจารย์กันแล้วใช่ไหมคะ งั้นก็ไปเปิดทำเนียบอาจารย์ท่านด้วยกันเลย

        ต้องบอกก่อนเลยว่า อ.นงลักษณ์ นั้น เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ปริญญาตรี ปริญญาโท จนถึงระดับปริญญาเอก เลยนะคะ โดยได้รับคุณวุฒิตามลำดับ ดังนี้ ปริญญาตรี วท.บ. (จิตวิทยาโรงเรียน) ปริญญาโท วท.ม. (จิตวิทยาโรงเรียน) และปริญญาเอก ศษ.ด. (หลักสูตรและการสอน) ปัจจุบันท่านมีตำแหน่งเป็น หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เป็นประธานคณะกรรมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ศษ.ม. และ ปร.ด. สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกจิตวิทยาการศึกษา และท่านยังดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปัจจุบัน และที่พิเศษมากในเชิงวิชาการ ท่านเป็นอาจารย์ของคณะอีกท่านหนึ่งที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยเฉพาะผลงานตีพิมพ์วารสาร ในฐานข้อมูลนานาชาติ “Scopus” ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการแข่งขันระดับนานาชาติอีกด้วย เกริ่นนำก็ตื่นเต้นกับการทำความรู้จักกับท่านแล้วจริง ๆ ค่ะ

      นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2562 อ.นงลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกด้วย ไม่ธรรมดาจริง ๆ นะคะ สำหรับอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ของเรา ที่มากด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในทุกระดับเลย

      แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง “จิตวิทยาการศึกษา” นับเป็นสิ่งสำคัญมากเลยนะคะสำหรับพวกเราในแวดวงการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่จะจบไปเป็น “ครู”  เพราะครูในปัจจุบันนอกจากจะต้องสอนเนื้อหาในวิชาของตนเองให้กับเด็กได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็กรอบด้านอีกด้วย ซึ่งเด็กแต่ละคนก็ล้วนมีเอกลักษณ์หรือบุคลิกที่แตกต่างกัน การเรียนจิตวิทยาการศึกษา ก็เพื่อทำให้เราสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของนักเรียน เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับนักเรียนได้นั่นเอง แน่นอนว่าเมื่อนักศึกษาเข้ามาเรียนในคณะศึกษาก็จะต้องเจอกับกระบวนวิชาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการศึกษาก่อนเลย แล้ววิชาไหนที่ อ.นงลักษณ์ สอนบ้างนั้น สามารถดูได้จากตัวอย่างข้างล่างเลย

เอก 091898 Doctoral Thesis 48 หน่วยกิต 2/2563
โท 091791 สัมมนาทางจิตวิทยาการศึกษา 3 หน่วยกิต 2/2563
โท 071739 การจัดการชั้นเรียนเชิงสร้างสรรค์ 3 หน่วยกิต 2/2563
ตรี 100112 (จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาผู้เรียนยุคดิจิทัล) 3 หน่วยกิต 2/2563
ตรี 100109 (แบบอย่างความเป็นครูในห้องเรียนยุคใหม่) 3 หน่วยกิต 2/2563
โท 069712 (สุขภาพจิตและการปรับตัว) 3 หน่วยกิต 1/2563
ตรี 100112 (จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาผู้เรียนยุคดิจิทัล) 2 หน่วยกิต 1/2563
ตรี 100109 (แบบอย่างความเป็นครูในห้องเรียนยุคใหม่) 2 หน่วยกิต 1/2563
ตรี 100109 (แบบอย่างความเป็นครูในห้องเรียนยุคใหม่) 2 หน่วยกิต 1/2563
ตรี 100112 (จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาผู้เรียนยุคดิจิทัล) 2 หน่วยกิต 1/2563
ตรี 100109 (แบบอย่างความเป็นครูในห้องเรียนยุคใหม่) 2 หน่วยกิต 2/2562
ตรี 100112 (จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาผู้เรียนยุคดิจิทัล) 2 หน่วยกิต 2/2562

        นอกเหนือภาระงานด้านการสอนในคณะแล้ว อ.นงลักษณ์ เขียนงาม ยังมีประสบการณ์สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และยังรับหน้าที่เป็นผู้จัดกิจกรรมแนะแนวให้กับทางโรงเรียนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยนำนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 และการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็น Active Learning อย่างแท้จริงด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย

ทั้งนี้ นอกจากภาระงานงานด้านการสอนแล้ว อ.นงลักษณ์ ก็ยังมีความถนัดและความสนใจในด้านอื่น ๆ อาทิ  

  • วิทยากรบรรยาย “จิตวิทยาการแนะแนวและการปรึกษา”
  • วิทยากรบรรยาย “เทคนิคการให้การปรึกษา”
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ วิพากษ์เอกสารหลักสูตรนักจิตวิทยาโรงเรียน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ วิพากษ์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจประเมินบทความวิจัยสำหรับตีพิมพ์ในวารสารที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา
  • วิทยากรพัฒนาเครือข่ายระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  
  • วิทยากรการอบรมพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (Youth Counseling : YC)
  • วิทยากรบรรยาย “เส้นทางสู่ความสำเร็จของอาชีพนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนและแนวทางศึกษาต่อ”
  • วิทยากรบรรยาย“แนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ”

         จะเห็นว่า อ.นงลักษณ์ ได้รับหน้าที่เป็นวิทยากรในหลาย ๆ งาน ซึ่งอาจถือได้ว่าการบรรยายพิเศษ หรือการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวของ อ.นงลักษณ์ เลยก็ว่าได้ ทั้งนี้นี่อาจจะเป็นผลงานส่วนหนึ่งของการได้รับการหล่อหลอมจากการเรียนจิตวิทยา ที่ยืนยันถึงความสามารถและประสบการณ์ในการโน้มน้าวใจ และการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อีกด้วย

         เมื่อพูดมาถึงตรงนี้แล้วที่จะขาดไปไม่ได้คือการแนะนำหนังสือหรือบทความของอาจารย์ให้กับผู้อ่าน ซึ่งหากผู้อ่านท่านใดสนใจ สามารถค้นหาได้ตามรายชื่อดังนี้

ตำรา/หนังสือ

  1. เอกสารประกอบคำสอนกระบวนวิชา 100112 (จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาผู้เรียนยุคดิจิทัล)
  2. การศึกษาระดับความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับชั้น
  3. รูปแบบการสอนทักษะทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก
  4. ทำอย่างไรให้วัยรุ่นก้าวสู่ความสำเร็จ
  5. เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 054322 (หลักการแนะแนว เบื้องต้น)

นอกจากนั้น การเป็นอาจารย์ด้านจิตวิทยาการศึกษาที่ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา การให้บริการวิชาการแก่สังคมแล้ว ภารกิจด้านการวิจัย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ และอาจารย์มีความโดดเด่น โดยเฉพาะการเผยแพร่ผลงานวิชาการ บทความวิชาการ บทความวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ TCI, ACI ไปจนถึงวารสารในระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus ดังนี้

ระดับชาติ

  1. สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนทรี คนเที่ยง, ศักดา สวาทะนันทน์ และ นงลักษณ์ เขียนงาม. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ (แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา (ครั้งที่ 4) วิทยาลัยนครราชสีมา, หน้า 225-234.
  2. สมเกียรติ อินทสิงห์, พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์, นิธิดา อดิภัทรนันท์, นทัต อัศภาภรณ์, ศักดา สวาทะนันทน์ และนงลักษณ์ เขียนงาม. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ แขนงวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและประกวดนวัตกรรมบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ (ครั้งที่ 1) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้, หน้า 1636–1644.
  3. สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนทรี คนเที่ยง,นิธิดา อดิภัทรนันท์, พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว, นทัต อัศภาภรณ์, ศักดา สวาทะนันทน์ และนงลักษณ์ เขียนงาม. (2560).  การวิพากษ์กระบวนวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามกรอบ 3 คุณ.  ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม- เมษายน 2560
  4. ชลธิชา ทิพย์ดวงตา,ศักดา สวาทะนันท์, นงลักษณ์  เขียนงาม และ พรสวรรค์ เพ่งพิศ. (2561). ผลการใช้เพลงภาษาฝรั่งเศสเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนประโยคความเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพจังหวัดเชียงใหม่. Veridian E –Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ,11(1), 273-289.
  5. รวีวรรณ ไชยเมือง และนงลักษณ์  เขียนงาม. (2561). การพัฒนาหลักสูตรชีวิตและครอบครัวตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Kasetsart Journal of Social Sciences.
  6. สุภัทร ชูประดิษฐ์, นงลักษณ์  เขียนงาม และธรรมรัตน์ แสงยันตนะธรรม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเล่นเกมกับความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. สุทธิปริทัศน์,32 (103), 55-67.
  7. สุภัทร ชูประดิษฐ์, นงลักษณ์ เขียนงาม และ ชฎาพร มหาวัน .(2561)การเปรียบเทียบระดับความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีพฤติกรรมการเล่นเกมต่างกัน. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(2),1657-1671. (2563). การศึกษาระดับความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2563)
  8. นงลักษณ์  เขียนงาม. (2563). การศึกษาระดับความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2563)
  9. Chupradit,S.,Kienngam,N.,Sangyantanatam,T.,(2018). Relationships between Game Playing Behavior  and Self-esteem of Lower Secondary  School Students, Suthiparithat  Journal, 32(103),55-67.
  10. Chupradit,S.,Kienngam,N.,Mhahawan,C.(2018).Comparison of Self- Esteem of Upper Secondary  School Students with Different Game Playing Behavior.  Veridian E- Journal, Silpakorn University,11(2),1657-1671.
  11. Chupradit,S.,Kienngam,N.,Somnasak,A.(2019).The Relationship between Behavior of Playing Online Games and Stress  among High School Students in Chiang Mai University Demonstration School, EAU Heritage Journal Science and Technology,13(3),173-187.
  12. Chupradit,S., Sawatla,S.,Kienngam,N., Chupradit,P.W.(Relationships between Game Playing Behaviorand Time Use of Activity in Daily Life of Lower SecondarySchool Students,Veridian E- Journal, Silpakorn University,,
  13. Wongjanta,T.,Khianngam,N.,Vaiyavutjama,P.,i and Assapaporn.N. (2019). Learning Experience Organization along  Multicultural Education for Early  Childhood  Children in Chiang Mai   Peri-Urban  Area. Journal of Education  Naresuan University, 23(2).
  14. Chaimueang,R., Kienngam,N.,Chaisorn,S., and Srisuk,K.(2020). The Development of Life and Family Curriculum according to Theory of Reasoned Sction in Association with Active learning Concept. Interdisciplinary Research Review,15(5),38 – 45.

ระดับนานาชาติ

  1. Intasingh, S., Swathanan, S., and Kienngam, N. (2018). The Development of Teaching Profession Curriculum in Accordance with the Institute’s Vision. Proceeding of The 4th National and International Conference on Curriculum and Instruction (NICCI) 2018, 9 February 2018, Khon Kaen, Thailand, pp. 539-547.
  2. Chupradit,S.,Kaewmamuang,N,Kienngam,N.,Chupradit,P.W.(2019).Prevalence and Correlates between Game Addiction and Stress of Adoulescents in Chiang Mai Thailand. Indian Journal of Public Health Research and Development, 10(8)1091-1096.DOI:10.5958/0976-5506.2019.02042.4
  3. Chupradit,P.W.,Kienngam,N.,Wongburanavart,C.,Thongngok,T.,Chupradit,S.(2020).Effects of  Blended Learning between Massive Open Online Course and Regular Conventional Course in Thailand’s University. International journal of Advanced Science and Technology.29(4).8210-8216.

         เรียกได้ว่าผลงานของ อ.นงลักษณ์ เขียนงาม มีมากมายหลากหลาย และมีความน่าสนใจมาก ๆ เลยนะคะ แน่นอนว่าท่านต้องมีรางวัลที่ถือได้ว่าเป็นผลตอบแทนจากการทำงานนี้ และรางวัลที่ อ.นงลักษณ์ มีความภาคภูมิใจที่สุดก็คือ “รางวัลนักแนะแนวผู้อุทิศตน ประจำปี 2555” จาก สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย นับว่าเป็นเกียรติแก่ท่านและคณะศึกษาศาสตร์ มช. ของเราอย่างมากค่ะ

         เต็มอิ่มกันไปเลยนะคะ สำหรับฉบับนี้ วันนี้ผู้เขียนก็ขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ใน “เปิดทำเนียบ อาจารย์ EDU” ฉบับถัดไป แล้วรอพบกับอาจารย์ท่านใหม่ที่เราจะนำเสนอต่อไปค่ะ