วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยลัยเชียงใหม่กันค่ะ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ในฐานะที่อาจารย์เคยรับราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ประเมินภายนอกฯ และอาจารย์ผู้บรรยายในหลายมหาวิทยาลัย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง แต่ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาจารย์ให้มากยิ่งขึ้นอีก
เริ่มด้วยประวัติทางการศึกษาของอาจารย์กันก่อนค่ะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ค.บ. เกียรตินิยม อันดับ 2 (วิทยาศาสตร์ทั่วไป) จากวิทยาลัยครูลำปาง (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง) ปริญญาโท ศษ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาเอก กศ.ด. (การบริหารการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และยังได้รับสัมฤทธิบัตรบริบททางการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ![]() |
นอกจากนั้น อาจารย์ยังได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่น (MONBUSHO) ไปศึกษาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นและเทคโนโลยีทางการศึกษา จากประเทศญี่ปุ่น (Kobe University and Tottori University) ได้รับทุนจากคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ไปฝึกอบรมการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย (Curtin University, Perth, Australia) และไปศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนทางการศึกษาวัฒนธรรม และมรดกโลก จากทุนของหน่วยงานต่าง ๆ ไปประเทศ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้น | ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ดูจากประวัติการศึกษาของอาจารย์แล้ว ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมคะ งั้นเราไปดูการทำงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง กันเลยค่ะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง เข้ามาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยประจำ ที่คณะศึกษาศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาจนถึงปัจจุบัน 9 ปีแล้วค่ะ อาจารย์สังกัดสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง 1) คณะกรรมการบริหารคณะศึกษาศาสตร์ 2) หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา 3) ประธานหลักสูตรและประธานจัดการเรียนการสอน ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา นอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่ง 4) รองประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เครือข่าย สมศ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 5) คณะกรรมการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานด้านการสอน อาจารย์สอนทั้งในระดับปริญญาตรี วิชาแกน (สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์) วิชาที่สอน คือ กระบวนวิชา การบริหารการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (100309) การประกันคุณภาพการศึกษา (100312) ความเป็นครูมืออาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู (071737) เป็นต้น และวิชาโทและวิชาเลือกอิสระ (บริหารการศึกษา) สำหรับนักศึกษาทุกคณะที่เลือกเรียน ในกระบวนวิชาต่าง ๆ กว่า 10 กระบวนวิชา ได้แก่ การบริหารจัดการสถานศึกษา (051304) (เดิมชื่อวิชา การบริหารจัดการโรงเรียน) การติดต่อสื่อสารในการบริหารการศึกษา (051300) หลักการบริหารการศึกษา (051302) การบริหารบุคลากรครู (051306) พฤติกรรมศาสตร์ การบริหารการศึกษา (051310) การนิเทศการศึกษา (051313) การบริหารการศึกษาเปรียบเทียบ (051412) ระบบการบริหารการศึกษาของไทย (051418) มนุษยสัมพันธ์เชิงบริหารการศึกษา (051421) เป็นต้น และในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท และปริญญาเอก) สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกการบริหารการศึกษา และกำลังจะเปิดหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารการศึกษาเร็ว ๆ นี้
จากการที่อาจารย์สอนทั้งระดับ ป.ตรี และ ระดับบัณฑิตศึกษา เชื่อว่าผู้อ่านหลาย ๆ คนก็คงจะเคยเรียนกับอาจารย์มาบ้างแล้วนะคะ แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเรียน และสนใจเกี่ยวกับวิชาทางการบริหารการศึกษาที่อาจารย์สอนก็สามารถหาหนังสือของอาจารย์มาอ่านไปพลาง ๆ ก่อนได้นะคะ หากยังไม่เป็นที่พอใจ ก็รอเรียนกับอาจารย์ในเทอมต่อ ๆ ไปได้เลยค่า หากใครต้องการทราบว่าอาจารย์จะเปิดวิชาในเทอมนี้มั้ย อย่างไร ก็สามารถติดต่ออาจารย์ผ่านช่องทางหลาย ๆ ช่องทาง เช่น https://www.facebook.com/Dr.YONGYOUTH อีเมล yongyouth.y@cmu.ac.th หรือ โทร. 086-728-1906
ทุกท่านที่สนใจ หนังสือ ตำรา คู่มือ และบทความ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง สามารถค้นหาได้ตามรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
1) หนังสือ ตำรา และคู่มือฯ
|
|
2) บทความวิชาการ (ล่าสุด)ยงยุทธ ยะบุญธง. (2564). “การสร้างสรรค์นวัตกรรมการด้านประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่” รวมบทความวิชาการ: การประชุมสัมมนาการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ และงานบริหารสัมพันธ์ ครั้งที่ 43. วันที่ 5 มีนาคม 2564. ออนไลน์. |
|
![]() |
ยงยุทธ ยะบุญธง. (2563). “นวัตกร ทำไม สร้างอย่างไร ต้นแบบ และแนวทางการสร้าง”. รวมบทความวิชาการ: การประชุมสัมมนาการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ และงานบริหารสัมพันธ์ ครั้งที่ 42, วันที่ 5 – 7 กุมภาพันธ์ 2563. โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: หน้า 14 – 25. |
ยงยุทธ ยะบุญธง. (2555). “การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนเพื่อสุขภาวะที่ดี: โรงเรียนนาทรายวิทยาคม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน”. ใน พิณสุดา สิริธรังสี(บก.), การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน ประสบการณ์เรียนรู้จากการปฏิบัติ. (น. 48-59). กรุงเทพฯ: DPU Coolprint. | ![]() |
![]() |
![]() |
ทั้งนี้งานวิจัยเล่มล่าสุด ที่อาจารย์ชอบที่สุดและอยากจะแนะนำแก่ทุกท่านอ่าน ได้แก่ งานวิจัยในหัวข้อ
แน่นอนว่า นอกจากอาจารย์จะมีประสบการณ์ด้านการสอนและงานวิจัยในระดับอุดมศึกษาแล้ว อาจารย์ยังมีประสบการณ์สำคัญทางวิชาการ ประสบการณ์การทำงานในการรับราชการครูและผู้บริหารสถานศึกษา และประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษากับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เช่น
พ.ศ. 2551- 2555 |
|
พ.ศ. 2548 – 2551 |
|
พ.ศ. 2546 - 2547 |
|
พ.ศ. 2545 – 2546 |
|
พ.ศ. 2539 - 2544 |
|
พ.ศ. 2528 - 2544 |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ในชีวิตการทำงานทางการศึกษาของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง ที่ผ่านมาพวกเราจะเห็นว่าผ่านอาจารย์ผ่านประสบการณ์การณ์ทั้งการเป็นข้าราชการครู รองและผู้อำนวยการสถานศึกษารวมระยะเวลาเกือบ 29 ปี กว่าจะมาเป็นพนักงานอุดมศึกษาสายวิชาการอีกเกือบ 10 ปี อาจารย์ได้รับทุนและรางวัลเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของคนและการทำงาน ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของอาจารย์ ตั้งแต่การเป็นนักเรียนทุนทั้งในและต่างประเทศ และในส่วนของการทำงานอาจารย์ได้รับรางวัล ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ปี 2543 ได้รับรางวัลการประกวดเรียงความ “ครูมืออาชีพตามมาตราที่ 24” คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ | ![]() |
ปี 2543 ครูผู้ปฏิบัติการสอนดีเด่น หมวดวิทยาศาสตร์ โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน | |
ปี 2545 ได้รับรางวัลครูที่ปรึกษาดีเด่น ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2545 จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ | |
ปี 2545 ได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา ดีเยี่ยม ปี พ.ศ. 2545 จากสหวิทยาเขตนันทบุรี จังหวัดเชียงใหม่ | |
ปี 2549 ได้รับประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศ ครูของแผ่นดิน สาขาบริหารสถานศึกษาดีเด่น เข้ารับมอบรางวัลกับนายชิงชัย มงคลธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2549 | ![]() |
![]() |
ปี 2551 ได้รับโล่รางวัลผู้บริหารดีเด่น โรงเรียนขนาดเล็ก ของมูลนิธิสมาคมผู้บริหารมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย |
ปี 2552 ได้รับเกียรติบัตร เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ บริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน (16 มกราคม 2552) และในปีเดียวกัน | |
![]() |
ปี 2552 ได้รับเกียรติบัตร เป็นผู้ปฏิบัติงานด้วยความมุมานะ อุสาหะ เสียสละ อดทน และพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้เป็นแบบอย่างที่ดี จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส.ก.ส.ค.) กระทรวงศึกษาธิการ (16 มกราคม 2552) |
ปี 2554 โล่รางวัลการบริหารจัดการโรงเรียนดีเด่น จากจังหวัดลำพูน รับมอบจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ในฐานะผู้บริหารที่จัดการศึกษาทีประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่สร้างชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้าน เช่น นักเรียน (นางสาวภัสรา ณะคําปุ๊ด) สามารถสอบเข้าเรียนต่อได้คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับเพื่อน ๆ ในขณะที่โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม และด้านอื่น ๆ | ![]() |
![]() |
ปี 2554 ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “หนึ่งแสนครูดี” ประจำ 2554 |
ปี 2555 โล่รางวัลผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกัน แก้ไข ปัญหายาเสพติด ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2555 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย |
|
|
ปี 2563 รับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ อาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น โดยสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย |
ปี 2564 รับโล่รางวัล ผู้มีเกียรติประวัติและผลงานทางการศึกษาดีเด่น ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย จะเข้ารับรางวัลในวันที่ 5 มีนาคม 2564 ในงานประชุมสัมมนาการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ (ระบบออนไลน์) |
นอกเหนือจากผลงาน รางวัล และเกียรติประวัติที่ได้รับมาแล้วในอดีตและปัจจุบัน ความภาคภูมิในชีวิตของอาจารย์อีกอย่างหนึ่ง คือ การมีบทบาทในการพัฒนาวงการศึกษา และการได้ให้บริการวิชาการและช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานและบุคคลทางการศึกษาเป็นอย่างดีเสมอมา
จากประวัติและผลงานทั้งในด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาการศึกษา และรางวัลต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้รับ ย่อมเป็นเครื่องการันตีในคุณภาพและความสำเร็จของอาจารย์เป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นอาจารย์ยังได้ให้หลักในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เป็นคำสั้น ๆ 5 คำ นั่นคือ “มุ่งมั่น ขยัน สร้างสรรค์ เผยแพร่ ต่อเนื่องและยั่งยืน” ที่อาจารย์ยึดถือมาโดยตลอด
สำหรับวันนี้ ทางเราก็ขอจากไป พร้อมกับหลักปฏิบัติสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง หากท่านผู้อ่านนำไปใช้แล้วเป็นอย่างไร อย่าลืมนำมาแบ่งปันด้วยนะคะ แล้วพบกันอีกครั้งใน {เปิดทำเนียบ อาจารย์ EDU} ในหัวข้อถัดไปค่ะ